Language

Press release | 07 เม.ย., 2017

การเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศแถบอินโด-พม่า

ได้มีเวทีความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่สำคัญ ซึ่งเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเริ่มต้นโครงการ (Inception Workshop) ของคณะกรรมการอำนวยการด้านพื้นที่ชุมน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ในภูมิภาคอินโดจีนและพม่า หรือ Indo-Burma Ramsar Regional Initiative (IBRRI) ซึ่งได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกนี้ในระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคมที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ในการประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของโครงการแรมซาร์ระดับภูมิภาคให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องพื้นที่ชุ่มน้ำในวงที่กว้างขึ้น และได้มีการเปิดตัว โครงการเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ของพื้นที่ชุ่มนํ้าในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง หรือ "Mekong WET: Building Resilience of Wetlands in the Lower Mekong Region" อย่างเป็นทางการ โดยโครงการ Mekong WET เป็นโครงการที่จะมาสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านเทคนิคให้กับคณะกรรมการ IBRRI ด้วย

การริเริ่มในภูมิภาคของอนุสัญญาแรมซาร์ หรือ Ramsar Regional Initiatives (RRIs) นั้นเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความความร่วมมือด้านพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการยอมรับจากอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)  ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน RRIs เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อให้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ   IBRRI ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามอนุสัญญาแรมซาร์อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยมีองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติสำนักงานภูมิภาคเอเชีย ( IUCN Asia) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเลขาธิการฯ

โครงการความริเริ่มความร่วมมือครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการสร้างเวทีความร่วมมือของตัวแทนระหว่างหน่วยงานของภาครัฐบาล, องค์กรความร่วมมืระหว่างประเทศตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar International Partners), องค์กรพัฒนาเอกชน, ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชน ต่าง ๆ

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการที่เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกของ IBRRI ได้กล่าวย้ำว่าถึงบทบาทของ IBRRI ว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสม

นอกจากนี้คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบกับแนวทาง ระเบียบในการบริหารจัดการโครงการและแผนการดำเนินงานสำหรับปี 2560 อีกทั้งยังได้พิจารณาความเชื่อมโยงของแผนงานด้านพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์อื่นๆ ในภูมิภาคอินโดจีนและพม่าอีกด้วย 

เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของความร่วมมือดังกล่าวได้มีการเปิดตัวโลโก้ใหม่ของ IBRRI ที่คณะกรรมการฯ ได้ลงคะแนนเลือกโลโก้ ที่ได้รับการออกแบบมาจากแนวคิดที่กรรมการฯ ได้เสนอมาก่อน

โครงการ Mekong WET มีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศของพื้นที่ชุมน้ำ โดยการบริหารใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามโดยที่โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งสี่ประเทศให้สามารถดำเนินการตามเจตจำนงที่ให้ไว้ตามพันธกรณีของอนุสัญญาแรมซาร์ และบรรลุถึงเป้าหมายไอจิ ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ  (Aichi Biodiversity Target) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำและชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองโดยตรงต่อแนวทางการทำงานตามกรอบความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่ชุมน้ำของ IBRRI

                "ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้โครงการ Mekong WET จะดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพัฒนาแผนการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 10 แห่ง ซึ่งจะมุ่งทำงานในมิติเรื่องการสร้างเสริมศักยภาพในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดนั้นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" Angela Joehl Cadena, เจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การประหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ภูมิกาคเอเชีย หรือ IUCN Asia ยังได้กล่าวอีกว่า โครงการ Mekong WET จะช่วยการต่อยอดองค์ความรู้ เสริมทักษะและความเชี่ยวชาญให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและตัวแทนจากชุมชนในด้านการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทด้านระบบนิเวศ-สังคมของพื้นที่ชุ่มน้ำ

นอกเหนือจากนี้ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ยังได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาแผนงานย่อยภายใต้โครงการIBRRI โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นผลจากความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำ   ลำดับต่อไป คณะกรรมการอำนวยการฯ จะทบทวนพิจารณาโครงการพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ ในภูมิภาคว่าวัตถุประสงค์การทำงานที่กำหนดไว้ในปัจจุบันว่าตอบสนองการทำงานได้หรือไม่

พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึง บึงนํ้า แม่นํ้า ป่าชายเลน แนวปะการัง รวมทั้งแหล่งทรัพยากรชายฝั่งทะเลอื่น ๆ นั้นล้วนเป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคนี้ ซึ่งการบริการระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของผู้คนนับล้าน ทั้งในด้านการทำการประมง การเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

 ในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง ผู้คนนับล้านมีวิถีชีวิตพึ่งพิงอยู่กับทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มนํ้าเพื่อความอยู่รอด หากแต่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การตัดไม้ทำลายป่าการขยายตัวของพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตร และการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลทำให้พื้นที่ชุ่มนํ้าในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงตอนล่างลดลงอย่างมากจนส่งผลทำให้พื้นที่วางไข่และแหล่งอาหารของปลาลดลง และยังเป็นเหตุทำให้คุณภาพนํ้าในพื้นที่ชุ่มนํ้าตํ่าลงอีกด้วย ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบมากขึ้น เช่น การรุกของนํ้าเค็ม ดินถล่ม นํ้าท่วมฉับพลัน ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                "การสร้างความร่วมมือไม่ว่าจะเป็น IBRRI หรือ Mekong WET เป็นเพียงแนวทางที่จะทำงานให้พื้นที่แหล่งทรัพยากรที่สำคัญอย่างพื้นที่ชุมน้ำรอดพ้นจากภัยคุกคามต่าง อีกทั้งการพูดคุยเพื่อสร้างความร่วมมือข้างพรมแดน ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความส่งผ่านความความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำคือกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดการใช้และการอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างชาญฉลาดสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป"  Raphael Glemet, Senior Programme Officer, Water and wetlands, IUCN Asia. เจ้าหน้าที่อวุโสด้านน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ขององค์การประหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สำนักงานเอเชีย หรือ IUCN Asia กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

Ann Moey,  Regional Communications Manager, IUCN Asia Regional Office; t: +66 2 6624029, e: ann.moey@iucn.org

Shreeya Joshi, Regional Communications Assistant, IUCN Asia Regional Office; t: +66 2 6624029, e: shreeya.joshi@iucn.org

NOTE TO EDITORS:

โครงการ IBRRI 

อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Convention on Wetlands of International Importance) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่ดำเนินการวางกรอบและการปฏิบัติงานระดับชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำและทรัพยากรอย่างชาญฉลาด

The Indo-Burma Ramsar Regional Initiative (IBRRI) เป็นโครงการริเริ่มที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาแรมซาร์ the Ramsar Convention Standing Committee (SC 52) ในเดือนมิถุนายน 2559 ภายใต้กรอบภาคีอนุสัญญาความร่วมมือระดับภูมิภาค Ramsar Regional Initiatives (RRIs) ที่จะสนับสนุนการดำเนินการตามอนุสัญญาและแผนยุทธศาสตร์ตามอนุสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค

โดยที่มีองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย (IUCN Asia) ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของ IBRRI ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์ของอนุสัญญาแรมซาร์ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินการและการประสานงานตามอนุสัญญาแรมซาร์อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม

โครงการ Mekong WET

โครงการโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ของพื้นที่ชุ่มนํ้าในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง หรือ "Mekong WET: Building Resilience of Wetlands in the Lower Mekong Region"  ได้รับทุนสนับสนุนจากองการระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ( International Climate Initiative หรือ IKI) ของกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสหพันธรัฐเยอรมนีเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติความมั่นคงของอาคารและความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (BMUB) โครงการ Mekong WET มีเป้าหมายการทำงานมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศของพื้นที่ชุมน้ำ โดยการควบคุมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งสี่ประเทศที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาแรมซาร์ และบรรลุถึงเป้าหมายด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมุ่งเน้นในระบบนิเวศแบบพื้นที่ชุมน้ำ โดยที่โครงการจะสนับสนุนการดำเนินการแผนยุทธศาสตร์เพื่อปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAPs) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลายหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) และผลักดันให้เกิดตกลงในเรื่องการตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบอนุสัญญาประชาชาติด้านการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)

เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

IUCN เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งสมาชิกที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งทำงานร่วมกันในด้านความรู้ เครื่องมือเพื่อที่จะทำให้การพัฒนาความก้าวหน้าของมนุษย์ในด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 ปัจจุบันนับเป็นเป็นเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่และหลากหลายที่สุดในโลกที่ใช้ความรู้เป็นฐานการทำงาน โดยมีองค์กรสมาชิก 1,300 องค์กรและมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ 15,000 คน ที่จะทำงานชี้นำข้อมูลด้านการอนุรักษ์ การประเมินผล และการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงานอนุรักษ์ธรรมชาติ  และการที่มีองค์ประกอบของสมาชิกที่กว้างขวางนั้นทำให้ IUCN สามารถมีบทบาทเต็มที่ในฐานะศูนย์รวบรวมข้อมูล ที่มีปฏิบัติการณ์ และมีเครื่องมือการทำงานที่ได้มาตรฐานสากล

IUCN สร้างเวทีที่มีความเป็นกลางและสร้างพื้นที่ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆรวมทั้งรัฐบาล เอ็นจีโอ นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่น องค์กรชนพื้นเมือง และคนอื่น ๆ สามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างและดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การทำงานร่วมกับพันธมิตรและผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมาก ทำให้ IUCN ดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ขนาดใหญ่และหลากหลายทั่วโลก โดยการผสานความรู้ด้านวิทยาวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ กับภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น การดำเนินงานโครงการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อลดการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูระบบนิเวศและปรับปรุงการมีดำรงอยู่ด้วยสุขภาวะที่ดีของผู้คน

Website: www.iucn.org/asia     |    Facebook: iucn.asia    |    Twitter: IUCNAsia